ทำไมเรายิ่งพยายาม “มีความสุข” กลับยิ่งรู้สึก “เหนื่อย” มากขึ้น...เรื่อยๆ ในปัจจุบันหลายคนพูดถึง “ความสุข” ไม่ว่าจะในรูปแบบของความสำเร็จ รายได้ หรือไลฟ์สไตล์ที่สมบูรณ์แบบ แต่... เรากลับพบว่าบางคนที่ประสบความสำเร็จ กลับไม่ได้มีความสุขที่แปรผันไปตามความสำเร็จเลย หรือว่า “เรากำลังพยายามไปผิดทางหรือเปล่า” เอาเข้าจริง... ความสุขนั้นไม่ได้มีแค่ “แบบเดียว” และไม่ได้มาจากความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังมาจากปัจจัยเพิ่มเติมอีก 2 อย่างที่สำคัญไม่แพ้กัน หากจำแนกความสุขตามประเภทของสารเคมีที่หลั่งในสมองก็น่าจะแบ่งได้ราวๆ 3 ประเภทดังนี้ เซโรโทนิน – ความสุขจากการมีสุขภาพกายและใจที่ดี ออกซิโทซิน – ความสุขจากความสัมพันธ์ที่อบอุ่น โดปามีน – ความสุขจากความสำเร็จและรางวัล และความลับที่เราไม่ค่อยรู้กันก็อยู่ที่การเรียงตัวของความสุขที่มั่นคง โดยมีลำดับขั้นเหมือนกับพีระมิด เริ่มจากเซโรโทนิน → ออกซิโทซิน → โดปามีน ถ้าเราเผลอข้ามขั้นใดขั้นหนึ่ง ก็ไม่ต่างกับการสร้างตึกที่รากฐานไม่ถูกต้องและมั่นคง เสี่ยงต่อการล้มลงในอนาคต แล้วเราจะลงมือออกแบบความสุขทั้งสามได้อย่างไร ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้ก่อนว่า “สารเคมีแต่ละประเภทจะหลั่งออกมาได้ เพราะอะไร” นอนให้พอและตรงเวลา เดินกลางแจ้งตอนเช้า 30 นาที หรือออกกำลังกายให้เหมาะสม เขียน “บันทึกรายวัน” เพื่อสรุปเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้นๆ ขอบคุณหรือชื่นชมใครสักคนวันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย โอบกอดคนที่คุณรัก พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวด้วยความจริงใจ ตั้งเป้าหมายเล็กๆ แล้วให้รางวัลเมื่อทำสำเร็จ ควบคุมเวลาใช้งาน ‘โซเชียลมีเดีย’ ใช้ความสำเร็จของตัวเองเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น กล่าวโดยสรุป เนื่องจากความสุขที่ยั่งยืนไม่ใช่เรื่องของความบังเอิญที่เราได้รับ แต่... เกิดจากการจัดสมดุล “สารเคมีในสมอง” อย่างเป็นระบบและถูกต้องตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น โดยที่เราจะจัดเรียงลำดับความสุขที่เริ่มต้นจากสุขภาพ → ความสัมพันธ์ → ความสำเร็จ และความสุขไม่ใช่สิ่งที่เราต้อง “ตามหา” ที่ไหนเลย แต่ความสุขนั้นเป็นผลลัพธ์ของ “การใช้ชีวิตให้ดีในแต่ละวัน”ความรู้สึกหลังอ่าน หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือน “คู่มือการออกแบบสมองให้มีความสุข” ที่เข้าใจง่ายและลงมือทำได้ทันที....Amarin HOW-TOสู่จุดสูงสุดของชีวิตด้วยพีระมิดสามสุข (1) https://s.shopee.co.th/VujSIe0tF (2) https://s.lazada.co.th/s.C0VIQ?cc
แสดงความคิดเห็น