"รวมวิธีการใช้จ่ายเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศ"

สิ่งหนึ่งที่หลายคนยังคงลังเลเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศในเรื่องการใช้จ่าย ไม่ว่าจะชอปปิ้ง เข้าร้านอาหาร ซื้อตั๋วรถไฟ รถบัส หรือเข้ามิวเซียม ช่องทางไหนที่จะปลอดภัย คุ้มค่า และสะดวกที่สุด
มาครับ...วันนี้ผม list รายละเอียด ข้อดี/ ข้อเสียของแต่ละช่องทาง เพื่อให้ทุกคนได้ข้อมูลนำไปปรับใช้ให้ถูกจริต และความสะดวกของตนเอง เที่ยวแบบสนุก ปลอดภัย ไร้กังวล
มาครับ...วันนี้ผม list รายละเอียด ข้อดี/ ข้อเสียของแต่ละช่องทาง เพื่อให้ทุกคนได้ข้อมูลนำไปปรับใช้ให้ถูกจริต และความสะดวกของตนเอง เที่ยวแบบสนุก ปลอดภัย ไร้กังวล

1. เงินสด (แบ้งค์/ เหรียญ)
ถือว่าเป็นช่องทางหลักในการใช้จ่ายเลยก็ว่าได้ ทุกคนควรมีเงินสดติดตัวไว้เผื่อฉุกเฉิน แม้จะชอบใช้ cradit card / travel card มากแค่ไหนก็ตาม และควรมี "เหรียญ" ติดกระเป๋าไว้บ้าง เพราะในการโดยสารบัส หรือฝากกระเป๋าในตู้สถานีรถไฟ ส่วนใหญ่จะใช้เหรียญ
ข้อดี :
ข้อดี :
- ใช้ง่าย สะดวก ชำระได้แทบจะทุกห้างร้าน แม้กระทั่งตลาดนัดในหมู่บ้านเล็กๆ
- แลกแล้วคือจบ ไม่มีค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าจุกจิกจิปาถะให้ต้องจ่ายเพิ่มอีก
- หากมีเงินสดเหลือกลับมา สามารถรอจังหวะเวลาที่อัตราการแลกเปลี่ยนดีๆ ค่อยแลกคืน กินส่วนต่างกำไรได้
- หายแล้วหายเลย ล่อตาโจร จึงต้องเก็บรักษาให้ดี
- ตม.บางประเทศจำกัดจำนวนเงินที่พกเข้าประเทศด้วย ควรศึกษากฎระเบียบของประเทศนั้นๆก่อน
- อาจต้องแลกเป็นดอลล่าไปก่อน แล้วค่อยไปแลกที่ประเทศนั้นอีกครั้ง หากคุณเดินทางไปในประเทศที่ไม่มีสกุลเงินนั้นให้แลกในบ้านเรา
- หากมีเหรียญเหลือกลับมาหลังจบทริป ไม่สามารถนำไปแลกคืนได้ รวมถึงเงินในสกุลที่ไม่มีให้แลกในไทยก็แลกคืนไม่ได้
- บางประเทศอาจมีการเปลี่ยนธนบัตรแบบใหม่ หากเราเก็บไว้นานเกินจนหมดอายุแลกคืน ก็จะเสียเงินไปโดยปริยาย

2. Credit card
ปัจจุบันมีทั้งแบบ VISA, Master, JCB, Unionpay และอื่นๆ ถ้าจะเลือกแบบใช้ได้ทั่วโลกครอบคลุมก็เลือกเป็น VISA กับ Master ไว้ก่อน
ข้อดี :
ข้อดี :
- ปลอดภัย มีอะไรเกิดขึ้น อายัดบัตรผ่าน call center หรือแอพได้เลยทันที
- ได้คะแนนสะสม (ยกเว้น บัตรที่มีเงื่อนไขในการรูดในบางประเทศที่จะไม่ได้พ้อยต์)
- กรณีโดนรูดโดยมิจฉาชีพ สามารถ hold ยอดเพื่อตรวจสอบ โอกาสได้เงินคืนสูง
- บางบัตรในบางช่วง มีโปรโมชั่น Cash back จากการรูดสกุลเงินต่างประเทศ หรือรูดใช้ในหมวดการท่องเที่ยว ก็ถือว่าเที่ยวแล้วได้เงินคืนได้ด้วย
- ใช้ได้ในทุกประเทศทั่วโลก แม้ประเทศนั้นจะไม่มีให้แลกเป็นเงินสดจากไทยก็ตาม
- สามารถโทรหาธนาคารเจ้าของบัตรว่าเราจะไปรูดใช้ที่ไหน เมื่อไหร่ เพื่อให้ธนาคารช่วยดูรายการรูดแปลกๆ เป็นการป้องกันมิจฉาชีพได้อีกทาง
- สามารถแบ่งชำระได้แล้วแต่โปรของบัตรใบนั้นๆ เช่น 0% 3 เดือน
ข้อเสีย :
- ต้องเสียค่าความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยน 1-2.5% ทุกครั้งที่รูด (ขึ้นกับธนาคารเจ้าของบัตร)
- หากคุณกดเงินสดออกจากบัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายที่ต่างประเทศ พึงระลึกว่า ค่าใช้จ่ายคุณจะบานปลาย ดอกเบี้ยจากการกดเงินสดของบัตรคือ "หายนะ" อย่าหาทำ

3. Travel card
หลักๆ มี 4 ธนาคารใหญ่ให้เลือกใช้คือ SCB Planet, Kbank YouTrip, KTB Travel Card, TTB All Free
ข้อดี :
- อยากใช้เท่าไหร่เติมเงินไปเท่านั้น จะแลกตอนไหนก็ได้ รูดจ่ายไม่มีค่าธรรมเนียมความเสี่ยงอัตราสกุลเงิน
- รูดแล้ว เงินตัดออกจากบัตรทันที ทำให้ทราบค่าใช้จ่ายชัดเจน คำนวณรายจ่ายในทริปง่าย
- แลกเก็บไว้ในบัตรก่อนได้ หากใช้ไม่หมด กลับมาแล้ว แลกคืนกลับมาเป็นเงินบาทก็ทำได้ง่าย
- บัตรหาย ก็เข้าแอพอายัดบัตรได้เลย สะดวก
ข้อเสีย :
- ไม่ได้พ้อยต์สะสมจากการรูด
- บางแห่งไม่รองรับระบบ PIN 6 หลักของเมืองไทย จึงใช้ไม่ได้
- หากโดนรูดจากมิจฉาชีพ โอกาสได้เงินคืนยาก รวมถึงการ refund คืนจากร้านค้าก็ยุ่งยากเช่นกัน
- มีสกุลเงินให้แลกได้จำกัด หากเราไปในประเทศที่ไม่มีในระบบแลกของบัตร ก็จบ
ตัวอย่างการนำไปใช้งานของผม
ประเทศในเอเชีย
- แลกเป็นเงินสดของสกุลเงินในประเทศที่จะไป แนะนำแลกไปก่อน เพราะบางสกุลแลกแล้วเลข 0 เยอะจนตาลาย เช่น บาหลี เกาหลี ญี่ปุ่น โอกาสโดนโกงง่าย หากไปแลกที่ร้านแลกในต่างประเทศที่เราไม่รู้จัก
- พกบัตรเครดิตประเภท JCB หากไปแถบญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เพราะอาจได้พ้อยต์เพิ่มจากการรูด และใช้เข้าเล้าจ์สนามบินบางแห่งได้ฟรี เรียกว่า "คุ้ม"
- Travel card พกไปเผื่อใช้ หลายที่ก็สะดวกในการรูดจริงๆ
ประเทศในยุโรป
- เงินสด ยังคงจำเป็นในแต่ละสถานที่ และความแพร่หลายในการใช้ และควรแลกสกุลเงินให้ตรงกับสกุลเงินของประเทศนั้นๆ เช่น สวิสใช้สกุล CHF แต่บางที่อาจรับ euro แต่คุณจะขาดทุนในอัตราการแลกเปลี่ยน เค้าจะทอนให้ในสกุลเงิน CHF อยู่ดี
- บัตรเครดิต ควรพกพวก VISA และ MASTER ไปจะง่ายสุด แต่ผมแทบไม่ได้ใช้ เพราะหลายบัตร ไม่ได้พ้อยต์จากการรูดในสกุลเงินยูโร และเขตการค้าเศรษฐกิจยุโรป
- Travel card มักเจอปัญหาเรื่องการกด PIN (ไทยใช้ 6 แต่ยุโรปใช้ 4) ดังนั้น "อย่า" ฝากความหวังไว้กับ Travel card อย่างเดียว
ประเทศ USA และออสเตรเลีย
- เงินสด ทั้ง USD และ AUD แลกไปเถอะ เหลือก็กลับมาแลกคืนง่าย สกุลเงินทรงพลัง แลกคืนไม่ยาก
- บัตรเครดิต ใช้ง่ายรูดเพลิน แต่อย่าลืมว่าทุกการรูดคุณจะเสียค่าความเสี่ยงอัตราการแลกเปลี่ยน 2.5% (ยกเว้นบัตรบางประเภท)
- Travel card แลกเก็บไว้ได้เลย แลกง่าย ใช้ง่าย
ประเทศสกุลเงินอื่นๆที่ไม่มีให้แลกในไทย
- เงินสด ผมจะแลกเป็น USD แล้วไปแลกเอาที่ประเทศปลายทางเป็นสกุลเงินของประเทศนั้นๆ
- บัตรเครดิต ติดไปแน่ๆ เผื่อเหลือเผื่อขาด เผื่อฉุกเฉินใดๆ
- Travel card หากใน Travel card ไม่มีให้แลกเป็นสกุลเงินของประเทศที่เราจะไป ก็เก็บไว้ที่บ้านเลย พกไปก็ไม่มีประโยชน์
คำแนะนำเพิ่มเติม !!
- ควรแลกสกุลเงินให้ตรงกับประเทศนั้นๆ เพราะบางประเทศอาจรับสกุลเงินอื่นๆได้ แต่เราจะเสียเปรียบอัตราการแลกเปลี่ยน และเค้าจะทอนเป็นสกุลเงินของเค้าอยู่ดี
- อาจต้องแลกสกุลเงินเพิ่มในประเทศที่เรา transit ทั้งนี้หากไม่ซีเรียส ก็สามารถใช้บัตรเครดิตรูดได้เพื่อความสะดวก อีกวิธีคือ ใช้บัตรเครดิตที่มีสิทธิ์พวก Priority Pass, Dragon Pass, Lounge Key เพื่อเข้าใช้บริการอาหาร เครื่องดื่มฟรี
- อย่าแลกธนบัตรที่มีมูลค่าสูงไป เช่น 500 euro เพราะจะใช้ยาก หลายร้านไม่รับ ต้องไปธนาคาร หาที่แลกวุ่นวาย
- "เหรียญ" ยังคงช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นในบางสถานการณ์ เช่น ขึ้นบัสท้องถิ่น หรือฝากกระเป๋าในล็อคเกอร์ จึงควรมีเหรียญติดตัวไว้บ้าง
- ควรมีซิมเนทที่ใช้งานได้ตลอดเวลา อย่าพึ่งแต่ wifi สาธารณะ เพราะกรณีบัตรโดนขโมย โดนแฮ็ก เราจะสามารถเข้าแอพ แล้วอายัดทุกธุรกรรมทางการเงินได้ทันที
สรุป
"พกไปให้หมด" ทั้งเงินสด บัตรเครดิต และ Travel card สะดวกหน้างานด้วยอะไร ก็ใช้อันนั้น เพื่อให้เรามีความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายให้มากที่สุด แอดจึงไม่แนะนำให้เลือกใช้ช่องทางใดช่องทางหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่อาจปรับสัดส่วนการถือตามความถนัด และการใช้จ่ายของตัวเอง
ทั้งหมดคือประมวลจากประสบการณ์การเดินทางมาเกือบ 50 ประเทศ ซึ่งคิดว่าสามารถนำมาแชร์ให้ทุกคนลองนำไปปรับใช้สำหรับทริปของตัวเองได้..เที่ยวแล้วสบายใจ ตอบ lifestyle การท่องเที่ยว ทริปก็ Happy
ทั้งหมดคือประมวลจากประสบการณ์การเดินทางมาเกือบ 50 ประเทศ ซึ่งคิดว่าสามารถนำมาแชร์ให้ทุกคนลองนำไปปรับใช้สำหรับทริปของตัวเองได้..เที่ยวแล้วสบายใจ ตอบ lifestyle การท่องเที่ยว ทริปก็ Happy
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่