โรคลิ้นหัวใจรั่ว มี 4 ระยะ A, B, C, D
A: ยังไม่แสดงอาการ เฝ้าระวัง
B: แบ่งเป็น
B1: มีภาวะหัวใจห้องใดห้องหนึ่งโต, มีการรั่ว เลือดดีและเลือดเสียไหลปนกัน
B2: มีภาวะหัวใจทั้งห้องบนและล่างโต การรั่วปนกันของเลือดดีและเลือดเสียเยอะ ความดันสูง ระยะนี้ต้องเริ่มกินยา เริ่มให้กินยาจะต้องมี criteria ที่ตรวจเจอ 3 ข้อใหญ่ๆ
- ขนาดหัวใจห้องล่างซ้ายในช่วงคลายตัว มากกว่า 1.7 (allometric scale)
- อัตราส่วนขนาดหัวใจห้องบนซ้ายต่อขนาดหลอดเลือดเอออร์ตา (LA:Ao) มากกว่า 1.6 จากการทำ echocardiography
- Vertebral heart score (VHS) จากภาพถ่ายรังสี มากกว่า 10.5
C: เริ่มมีภาวะน้ำท่วมปอด ต้องกินยาขับน้ำ (ยาตัวนี้จะทำให้ไตเสื่อม) เลยมักจะเป็นที่มาของความเชื่อว่า เป็นโรคหัวใจ ต้องกินอาหารโรคไต ซึ่งไม่ถูกต้อง เมื่อเป็นโรคไตแล้ว ถึงค่อยกินอาหารโรคไต
D: ระยะวิกฤตเด็กๆ เริ่มปฏิเสธการรักษา
สิ่งที่ต้องระวังและหลีกเลี่ยง
- ความอ้วน
- อาหารมัน โปรตีนสูง
- ใช้อาหารโปรตีนคุณภาพดี (ดูดซึมง่าย ย่อยง่าย) ไม่มีส่วนผสมของผลพลอยได้จากสัตว์, ไม่มีแป้ง
- พยายามหาสิ่งที่กินแบบไม่ต้องเติมเกลือ ต้องรักษาไตแบบสุดๆ เพราะ เมื่อเป็นหัวใจระยะ C มันจะมีอาการน้ำท่วมปอด ถ้าถึงระยะนี้จะต้องกินยาขับน้ำ ซึ่งยาตัวนี้จะทำให้ไตเสื่อมเร็วมาก ดังนั้นเราต้องรักษาไตให้ฟิตๆ เพื่อรอรับยาตัวนี้ค่ะ แต่ห้ามขาดเกลือนะคะ เพราะเกลือจำเป็นต่อการลำเลียงแร่ธาตุต่างๆ ไปใช้งานในร่างกายค่ะ และห้ามกินอาหารโรคไต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด เพราะอาหารรักษาโรคทำมาสำหรับเมื่อเกิดโรคแล้ว ไม่สามารถกินเพื่อป้องกันได้ค่ะ (เขียนซ้ำเพราะคนเข้าใจผิดเยอะมาก หมอบางคนก็ยังแนะนำคนไข้แบบนี้)
- ไม่ให้ทำอะไรที่จะเกิดการบีบตัวของหัวใจแรงๆ เช่น ตื่นเต้น เห่า กระโดด ขึ้นบันได (ทางขึ้นโซฟาเปลี่ยนเป็นทางลาด เพราะบันไดมันจะเกิดการเทคตัว แล้วมันทำให้หัวใจปั๊มเลือดเยอะกว่าเดินขึ้นทางลาด)
- ให้นอนให้พอ ในที่ที่สะอาด ไม่มีฝุ่น เพราะถ้าเกิดการไอ หลอดลมอักเสบ เวลาไอก็จะทำให้เหนื่อยง่าย หัวใจบีบตัวเยอะ
- ไม่ให้มีหินปูน เพราะหินปูนคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ด้วยค่ะ ถ้าหินปูนเยอะๆ มันจะหลุดเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ไปเกาะอยู่ตรงลิ้นหัวใจ จากปกติลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท พอมีหินปูนไปเกาะอีก มันจะยิ่งทำให้ลิ้นมันหนักจนปิดไม่สนิทกว้างขึ้น เลือดดีและเลือดเสียเข้าไปปนกันได้เยอะ จนมันเกิดภาวะหัวใจโตค่ะ
- อากาศที่ร้อนมาก สลับกับเย็นมาก มันทำให้หลอดลมอักเสบ แล้วเกิดการไอค่ะ ถ้าต้องออกไปที่ร้อนๆ ให้พก เจลเย็นไปด้วยทุกครั้ง เอาติดไว้ที่ตัว ช่วยได้มากๆค่ะ ทุกวันนี้แชลไม่หอบเลยค่ะ
- ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพราะการวางยาสลบ มีความเสี่ยงกับโรคหัวใจค่ะ หากจำเป็นต้องวางยา ให้บอกหมอทุกครั้งว่าเป็นโรคหัวใจ และขอให้มีวิสัญญีควบคุมค่ะ
ทุกวันนี้ ชีวิตประจำวันคือ
1. แชลกิน อาหารสูตรซีเนียร์ 7+ ของ #พอดี้ กินแล้วดี ตอนนี้เดือนที่ 8 ผลเลือดแชลเปลี่ยนไปมากค่ะ ดีขึ้น ค่าหัวใจลดลง Pawdy - พอดี้ เพจหลักบริษัท (อัพเดท 20 ธ.ค. 67 ตอนนี้กินมา 1 ปี 6 เดือน แล้วค่ะ) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3SAjgFn
2. กินน้ำให้ถึงโดสตามน้ำหนักตัวค่ะ หยกใช้วิธีบังคับกินโดยการเอาขนมเล็กๆ จิ๋วๆ ใส่น้ำ แล้วให้กินค่ะ ปริมาณน้ำคือ 50-70 มล. /น้ำหนัก 1 กก. เช่นแชลหนัก 2.8 โล ตีว่า 3 โล ให้น้ำ 150 มล. ปกติแชลเป็นเด็กกินน้ำค่ะ หยกเลยบังคับที่ต่ำสุด แล้วให้ไปกินเองระหว่างวันเพิ่มเอา น้ำ 150 มล., แบ่งมื้อละ 75 มล., กินหลังกินข้าวค่ะ
3. ในน้ำซุปหลังกินข้าว หยกจะหยด water additive ของ Oxyfresh ลงไปเพื่อลดคราบพลัค ที่จะก่อให้เกิดหินปูนค่ะ
4. ไม่มีท๊อปปิ้งในอาหาร ขนมให้กินแค่ Chimzeo เท่านั้น โดยการเอามาใส่น้ำซุปบังคับการกินน้ำ เพราะเป็นโปรตีนจากสันในเป็ดล้วนๆ และคุมค่าไขมันได้ค่ะ
5. แปรงฟันทุกวัน
6. พยายามหาทางพาไปเดินเล่น หลังกินเสร็จ ตอนเย็น ต้องมีเดินเล่นเบาๆ แบบไม่ให้กระโดด หรือเห่าแรงๆ ค่ะ
7. ตรวจฟันสม่ำเสมอ และพยายามไม่ให้มีหินปูน
โรงพยาบาลที่หาประจำ
- รัตนาธิเบศร์ สาขาเกษตรนวมินทร์ อายุรกรรม, ตรวจตา
- คริสตัลเพ็ท ตรวจเลือด และโรคเฉพาะทางอื่นๆ เช่นเวลาปวดตัว ปวดหลัง ปวดท้อง หรือโรคที่ต้องตรวจโดยใช้แล็บร่วมด้วย
- มหิดล ตรวจหัวใจ
- Pet Dental Center ตรวจฟัน ทุก 6 เดือน คุณหมอนุ่น ใจดีมากค่ะ ค่าตรวจ 180 บาท คือราคาน่ารักจนงง
#โรคหัวใจ #Pawdy #พอดี้ #เปลี่ยนก่อนป่วย #อาหารหมาแก่ #อาหารสุนัขเกรดพรีเมียม #Pawdyอาหารสุนัขเกรดพรีเมียม #พอดี้ดีพอและพอดีสำหรับลูกคุณ