ประวัติศาสตร์ “จิตวิทยา”
“จิตวิทยา” คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมของคน และอันที่จริง จิตวิทยานั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน สามารถย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ยุคโบราณ
การศึกษาจิตวิทยานั้น สามารถย้อนประวัติไปได้ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ กรีก และจีนโบราณ โดยนักปรัชญาในสมัยโบราณต่างก็สนใจที่จะศึกษาและเข้าใจธรรมชาติของความคิดและจิตของมนุษย์
ในสมัยอียิปต์โบราณ ปราชญ์ต่างสนใจและต้องการหาคำตอบว่าจิตใจและร่างกายนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และเชื่อว่าหัวใจคือตำแหน่งที่ตั้งของวิญญาณ และยังเป็นจุดกำเนิดของสติ
และในสมัยนี้ ยังมีการหัดตีความหมายจากความฝัน ซึ่งก็สามารถบ่งบอกได้คร่าวๆ ว่าบุคคลนั้นคิดและรู้สึกอย่างไร
ในสมัยกรีกโบราณ นักปรัชญาเช่น “โสเครติส (Socrates)” “เพลโต (Plato)” และ “อริสโตเติล (Aristotle)” ก็ต้องการจะเข้าใจธรรมชาติของสติและจิตวิญญาณมนุษย์
มีการคิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับความตระหนักรู้ของมนุษย์ ความจำ ตรรกะเหตุผล และมีการเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและร่างกาย
เพลโตเชื่อว่าจิตวิญญาณนั้นเป็นอมตะ ในขณะที่ร่างกายเป็นเพียงพาหนะของจิตวิญญาณ
ที่จีนเองนั้น ปราชญ์เช่น “ขงจื๊อ (Confucius)” และ “เล่าจื๊อ (Laozi)” ก็ได้คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมและศีลธรรมของมนุษย์ และมีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม
นักปราชญ์จีนเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์นั้น ได้ถูกหล่อหลอมจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน
สำหรับการศึกษาจิตวิทยาในยุคสมัยใหม่นั้น ได้เริ่มขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยนักวิทยาศาสตร์ฝั่งตะวันตกได้เริ่มประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาสภาพจิตและพฤติกรรมของมนุษย์
มีการคิดค้นทฤษฎีในการศึกษาความตระหนักรู้ สติ ความทรงจำของมนุษย์ และเป็นเหมือนหมุดหมายเริ่มในการศึกษาและพัฒนาทฤษฎีจิตวิทยาสมัยใหม่
ในช่วงแรกของการศึกษาจิตวิทยาในยุคสมัยใหม่ มีการโฟกัสไปที่ความเข้าใจโครงสร้างของจิต รวมทั้งกระบวนการเก็บข้อมูลของสมอง
เมื่อมาถึงศตวรรษที่ 20 นักจิตวิทยาก็ยังคงศึกษาและพัฒนาทฤษฎีของตนต่อไป มีการศึกษาโครงสร้างสมองและระบบประสาท รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นที่อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์
ในทุกวันนี้ จิตวิทยาก็เป็นสาขาหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ ผู้คนจำนวนมากก็เริ่มจะปรึกษานักจิตวิทยาหากมีความเครียดหรือมีเรื่องไม่สบายใจ
จะเห็นได้ว่าศาสตร์ของจิตวิทยานั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และยังคงได้รับความสนใจมาถึงปัจจุบัน
References :
ต้นฉบับ :
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่