ถ้าชอบบทความนี้ แชร์ให้คนที่คุณรัก..อ่าน บ้านรกเกิดจากใคร? เรามักจะชี้ไปหาบุคคลอื่นอยู่เสมอ เช่น สามีไม่ชอบทิ้ง ภรรยาชอบช็อปปิ้ง คุณแม่เป็นผู้ชอบเก็บถุงพลาสติก
ในมุมมองของคนที่ชอบทำบ้านรก มันไม่ใช่ปัญหาเลยเพราะเขาทนอยู่ได้ มองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่คนที่อาศัยอยู่ร่วมด้วยต่างหาก ที่ทุรนทุรายจนอยู่ไม่ได้
คู่รักบางคู่ต้องหย่าร้างกัน ลูกๆ เลือกแยกย้ายไปอยู่บ้านของตัวเอง ไม่ทนอยู่กับข้าวของที่พ่อแม่ทำรก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ มักถูกกล่าวหาว่าเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจทิ้งของ
แต่เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นกับ คุณยายมาร์การีตา แมกนัสสัน เจ้าของแนวคิดการจัดระเบียบบ้าน แบบมินิมอลที่เรียกว่า เดธ คลีนนิ่ง (death cleaning) โดยใช้ "ความตาย" เป็นเกณฑ์ในการช่วยตัดสินใจ หรือเรียกสั้นๆว่า "ทิ้งก่อนตาย"
คุณยายมาร์การีตา เป็นผู้เขียนหนังสือ "death cleaning สุดท้ายก็ต้องทิ้ง"
ตอนเธอเริ่มต้นจัดระเบียบบ้าน คุณยายมีอายุมากกว่า 80 ปี แรงบันดาลใจครั้งแรกเกิดจาก เธอไปเก็บกวาดข้าวของของคุณแม่ที่เสียชีวิตไป พบเสื้อผ้าและของใช้จำนวนมากมหาศาล
แต่โชคดีมากที่อย่างน้อยแม่ก็ยังวางแผนเอาไว้ โดยเขียนป้ายแปะว่า เสื้อผ้าแต่ละชิ้นจะส่งมอบหรือบริจาคให้กับใคร ไม่ทำให้กลายเป็นภาระของคนที่ยังใช้ชีวิต
หลังจากเหตุการณ์นั้น ทำให้คุณยายคิดว่า คนเราควรรับผิดชอบสิ่งของของตัวเอง ก่อนจะจากไปเพื่อคนที่เรารักจะไม่ลำบาก คุณยายจึงเริ่มต้นลดปริมาณข้าวของรอบตัว รวมถึงการลดขนาดบ้านอยู่อาศัยให้เล็กลง
ความแตกต่างระหว่างการเก็บกวาดบ้านครั้งใหญ่ทั่วไปกับ death cleaning คือ Death cleaning มุ่งเน้นการลดปริมาณสิ่งของเพื่อให้ตัวเองใช้ชีวิตได้ในปัจจุบันอย่างมีความสุข ขณะเดียวกันเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว สิ่งของก็จะไม่เป็นภาระให้กับลูกหลานหรือคนที่อยู่เบื้องหลังต่อไป
สำหรับการเริ่มต้น คุณยายแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ ควรจะต้องเริ่มต้น ช่วงที่ยังเป็นหนุ่มสาวหรือยังมีแรง อย่างช้าคือช่วง 50-60 ปี
คำถามสำคัญก็คือว่า ถ้าคุณมองไปรอบตัวแล้วจำของของตัวเองไม่ได้ ควรรู้ได้แล้วว่าตัวเองมีข้าวของมากจนเกินไป และควรเริ่มต้นจัดระเบียบบ้านได้แล้ว
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ
1. ข้าวของที่เราบ้าซื้อ บ้าเก็บคือความทุกข์ บางทีเราก็หลงคิดว่ามันให้ความสุข แต่จริงๆแล้วมันเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้คนในครอบครัว และคนที่เรารักต้องทรมาน แม้ว่าวันหนึ่งเราจะจากไป แต่สิ่งของก็จะกลายเป็นภาระ ที่ทำให้คนที่อยู่ต่อต้องจัดการต่อไป
2. Death cleaning เหมือนกับการทำพินัยกรรม ช่วยให้ลูกหลานหรือคนที่อยู่เบื้องหลัง ไม่ต้องรู้สึกผิดหรือทุกข์ใจ เมื่อเขาต้องตัดสินใจทิ้งของ
และนี่ก็เป็นข้อคิดง่ายๆ ที่ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นผ่านการเปลี่ยนความคิด และข้าวของในบ้านของคุณ
ชอบสาระดีๆแบบนี้ โปรดกดแชร์และกดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจ เพจ @proud จัดระเบียบเปลี่ยนชีวิต Proud จัดระเบียบเปลี่ยนชีวิต
เพราะเราเชื่อว่า การเปลี่ยนชีวิต เริ่มที่ความคิด และบ้านของคุณ
สำหรับมือใหม่อยากลองจัดตู้เสื้อผ้าด้วยตัวคุณเอง เรียนรู้ง่ายๆ ได้ในคอร์สออนไลน์ "ชีวิตใหม่สร้างได้ในตู้เสื้อผ้า"
ขอบคุณภาพจาก : amarinbooks.com
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่