สินบนหรือรางวัล แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีต่อพัฒนาการของลูกมากกว่า ?

ใกล้มิตรชิดหมอ

ใกล้มิตรชิดหมอ เพจให้ความรู้คู่สุขภาพกายและจิต เสมือนมีหมอเป็นมิตรอยู่ข้างบ้าน

สินบนหรือรางวัล ต่างกันอย่างไร

          เคยเสนอเงื่อนไขให้ลูกเพื่อทำอะไรบางอย่าง หรือเพื่อปรับพฤติกรรมกันบ้างไหมคะ วันนี้จะมาชวนคุยเรื่องของ "รางวัล" กับ "สินบน" ค่ะ 
          #สินบน และ #รางวัล แม้จะฟังดูคล้ายกัน แต่มีความหมายและผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมากนะคะ และผลลัพธ์ที่ได้จาก 2 วิธีนี้ก็แตกต่างกัน เราสามารถใช้ทั้งรางวัล และสินบน เป็นตัวช่วยในการช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ก็จริง แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัย และสถานการณ์ด้วยค่ะ
          "สินบน" จะเป็นพฤติกรรมที่เราให้สิ่งของ เงิน หรือผลประโยชน์บางอย่าง เพื่อจูงใจให้ลูกทำหรือไม่ทำอะไรบางอย่าง เช่น พ่อแม่บอกว่าให้ขนมเพื่อให้ลูกหยุดร้องไห้ ครูตั้งรางวัลนักเรียนเพื่อให้นักเรียนตั้งใจเรียน หรือเด็กให้เงินเพื่อนเพื่อให้เพื่อนช่วยทำการบ้าน สินบนส่วนใหญ่มักจะเป็นการบอกว่า "#จะให้" #ล่วงหน้าโดยที่พฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องการยังไม่เกิด แต่ใช้สิ่งที่จะให้เป็นสิ่งล่อใจให้ลูกทำในสิ่งที่ต้องการค่ะ
          ในขณะที่ "รางวัล" หมายถึง การให้สิ่งของ เงิน หรือผลประโยชน์ เพื่อชื่นชม หรือกระตุ้นให้เด็กพัฒนาพฤติกรรมที่ดี เช่น พ่อแม่ให้ลูกเล่นของเล่น เมื่อลูกทำการบ้านเสร็จ คุณครูให้ลูกอมเมื่อลูกตอบคำถามถูก หรือลูกได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันวาดภาพ
          จะเห็นว่า #รางวัลจะมาหลังจากที่ทำพฤติกรรมที่พ่อแม่ชอบ หรือพฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องการแล้ว และมักจะมาแบบที่ไม่รู้ล่วงหน้า ลูกไม่ได้รู้ตัวว่าจะได้สิ่งนั้น และไม่ได้มีพฤติกรรมดีเพราะรางวัลที่ได้ การให้รางวัลจึงเป็นการเสริมแรงให้ลูกอยากทำพฤติกรรมดี ๆ มากขึ้นค่ะ
          พอจะเห็นความแตกต่างไหมคะ
          โดยทั่วไป การให้ "#รางวัล" #จะเป็นผลดีต่อการปรับพฤติกรรมมากกว่า "สินบน" นะคะ 
          โดยหากเราใช้สินบนบ่อย ๆ อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการทางศีลธรรม ลูกอาจเรียนรู้ว่า การใช้สินบนเป็นวิธีการแก้ปัญหา แทนที่จะเรียนรู้การใช้วิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสมกว่าค่ะ มีการศึกษาติดตามเด็ก ๆ อายุ 3-5 ขวบ จำนวน 120 คน เป็นเวลา 2 ปี พบว่า #เด็กที่พ่อแม่ใช้สินบนบ่อยๆ #มีแนวโน้มที่จะโกหก #ขโมย #และเอาเปรียบผู้อื่นมากกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ใช้สินบน และมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาพฤติกรรม เช่น เด็กซึมเศร้า หรือเด็กวิตกกังวลได้มากกว่าด้วยค่ะ
          และอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ โดยลูกอาจสูญเสียความไว้วางใจในพ่อแม่ และรู้สึกว่าพ่อแม่รักเขาเพราะสิ่งของ ไม่ใช่ความรักที่แท้จริง 
          นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อพฤติกรรม เพราะลูกอาจพึ่งพาสินบน เพื่อควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่นแบบที่พ่อแม่ทำกับตัวเอง และคิดว่าสิ่งนั้นคือ ความถูกต้อง 
          ท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อการเรียนรู้ การใช้สินบนบ่อย ๆ อาจจะทำให้ลูกไม่ได้สนใจกระบวนการเรียนรู้ หรือพัฒนาตนเอง เพราะมุ่งหวังแต่สิ่งที่พ่อแม่นำมาเป็นสินบนมากกว่านั่นเองค่ะ มีการศึกษาในเด็กวัยรุ่น 13-15 ปี พบว่า #เด็กที่พ่อแม่ใช้สินบนบ่อยๆ #มีแนวโน้มที่จะมีผลการเรียนที่ต่ำกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ใช้สินบนค่ะ
          จึงมีคำแนะนำว่า พ่อแม่ควรปรับพฤติกรรมของลูก โดยใช้รางวัลมากกว่าสินบนนะคะ 
          สำหรับ #แนวทางการให้รางวัลแก่ลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถพิจารณาโดยใช้แนวทาง ดังนี้ค่ะ 
  1. #ให้รางวัลที่เหมาะสมกับวัยของลูก สำคัญมากที่สุดนะคะ ลูกที่ยังเล็กอาจต้องการรางวัลที่เป็นรูปธรรม เช่น ของเล่น ขนม ในขณะที่เมื่อลูกโตขึ้น ของรางวัลก็จะเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่ลูกชอบ หรือเวลาเล่นเกมที่เพิ่มขึ้น หรือคำชม เป็นต้น
  1. #ให้รางวัลที่สม่ำเสมอ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี ควรให้รางวัลสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมนั้นให้คงอยู่
  1. #ให้รางวัลด้วยคำชม ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสิ่งของ หรือสิ่งที่มีราคานะคะ แค่คำชม และการยอมรับจากพ่อแม่ ก็เป็นรางวัลสำหรับลูกได้เช่นกันค่ะ
  1. #ให้รางวัลด้วยประสบการณ์ เมื่อลูกโตขึ้นระดับหนึ่ง สามารถให้รางวัลที่อาจจะไม่เป็นสิ่งของ หรือมีรูปธรรมชัดเจน เช่น พาไปเที่ยว เล่นกีฬา หรือใช้เวลาด้วยกันมากขึ้น เป็นต้น
  1. เพื่อให้ลูกคงพฤติกรรมที่เราชอบไว้ คุณพ่อคุณแม่จะต้องไม่ลืม #อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ทำไมถึงได้รับรางวัล ลูกจะได้เรียนรู้ว่า พฤติกรรมใดควรได้รับการส่งเสริมค่ะ
          สำหรับการให้รางวัลเด็กตามวัยที่เหมาะสมมีตัวอย่างคร่าว ๆ ประมาณนี้ค่ะ อย่างไรก็ตาม #เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน และบริบทของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน ดังนั้น #อ่านแล้วก็นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับครอบครัวเราเองด้วยนะคะ 

1. เด็กเล็ก (0-3 ปี)

          ด้วยความที่เด็กเล็ก ๆ ยังไม่เข้าใจระบบรางวัลที่ซับซ้อน วัยนี้จึงควรเน้นการชมเชยและคำพูดเชิงบวกเป็นรางวัลที่ดีที่สุดสำหรับลูกนะคะ คุณพ่อคุณแม่หรือคนที่ดูแลสามารถบอกลูกว่าคุณภูมิใจในตัวเขาทุกครั้งที่เขาทำสิ่งที่ดี เช่น การกินอาหารอย่างเรียบร้อย เล่นกับของเล่นอย่างปลอดภัย หรือแบ่งปันของเล่นกับผู้อื่น เป็นต้น 
          หากจะให้รางวัลก็ควรเลือกรางวัลที่เป็นรูปธรรมและเรียบง่าย เช่น การกอด การเล่นด้วยกัน การอ่านหนังสือ หรือพาไปเที่ยวที่สวนสาธารณะ หรือไปซื้อขนมที่ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้นค่ะ ซึ่งเด็กจะเข้าใจว่าตัวเองได้รางวัลจากพฤติกรรมไหนได้นั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้อง #ให้รางวัลทันที เพราะเด็กเล็กมีช่วงสมาธิที่สั้น และหลีกเลี่ยงการให้ของขวัญเป็นรางวัลหลักสำหรับเด็กเล็ก เพราะการให้ของขวัญบ่อย ๆ อาจทำให้เด็กคุ้นเคยกับการได้รับสิ่งของโดยไม่ต้องทำงานหนัก

2. เด็กประถม (4-10 ปี)

          ลูกในวัยประถมจะเริ่มเข้าใจระบบรางวัลที่ซับซ้อนมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างระบบรางวัลที่ซับซ้อนได้ เช่น ใช้สติกเกอร์ ตราประทับ หรือดาว เด็ก ๆ สามารถแลกรางวัลเหล่านี้กับของรางวัลที่ใหญ่กว่า เช่น การไปดูหนัง เล่นเกม หรือใช้เวลากับเพื่อนให้มากขึ้น ทั้งนี้ควรมีการให้รางวัลที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความสนใจของลูกในช่วงวัยต่าง ๆ และสามารถให้รางวัลที่มีความหมายกับพฤติกรรมที่มีคุณค่าที่เป็นนามธรรมได้ เช่น ให้รางวัลกับการที่ลูกทำสิ่งดี ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น เป็นต้น
          อย่างไรก็ดี มีสิ่งที่ควรระวังอยู่นิดหน่อยนะคะ คือ #หลีกเลี่ยงการใช้เงินเป็นรางวัล ถ้าจะให้ก็ไม่ควรบ่อยเกินไป

3. เด็กโต (11-18 ปี)

          เด็กวัยนี้มักไม่สนใจของขวัญมากนัก คุณพ่อคุณแม่สามารถให้รางวัลกับลูกตามความสนใจเฉพาะบุคคล เช่น การไปคอนเสิร์ต เล่นกีฬา หรือใช้เวลากับเพื่อนเพิ่มขึ้น 

          และไม่ควรมองข้ามการให้รางวัลที่ลูกมีพฤติกรรมที่แสดงความรับผิดชอบของลูก เช่น การทำงานบ้าน ช่วยเหลืองานบ้าน หรือดูแลน้อง เป็นต้น
          นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังให้รางวัลที่สนับสนุนเป้าหมายของลูกได้ด้วย เพื่อให้ลูกเห็นว่า คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของลูก ทำให้ลูกรู้สึกภูมิใจ และมีความพยายามมากขึ้น
          อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตัองระวังอย่างมาก คือ #หลีกเลี่ยงการใช้รางวัลเพื่อควบคุมพฤติกรรม เพราะการใช้รางวัลในลักษณะนี้อาจจะทำให้ลูกพึ่งพารางวัลและไม่ทำสิ่งที่ถูกต้องหากไม่มีรางวัลได้ค่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการเลย
  1. #สร้างแรงจูงใจ พ่อแม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ลูกอยากเรียนรู้ โดยอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า การเรียนหนังสือ ทำการบ้าน มีประโยชน์อย่างไรนะคะ เน้นที่ประโยชน์ต่อตัวเขาเอง เช่น 
  • การเรียนหนังสือ ทำให้หนูเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น และเป็นพื้นฐานให้หนูในการต่อยอดไปยังบทเรียนอื่น ๆ 
  • การทำการบ้าน จะทำให้หนูรู้ว่าหนูเข้าใจบทเรียนที่ครูสอนมากน้อยแค่ไหน และมีตรงไหนที่หนูยังไม่เข้าใจอีกบ้าง 
          พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติแง่ลบ เช่น เรียนหนังสือจะได้ไม่ต้องไปเก็บขยะ หรือทำการบ้านจะได้ไม่โดนลงโทษ เป็นต้น 
  1. #เป็นตัวอย่างที่ดี พ่อแม่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกในเรื่องของการเรียนรู้ได้นะคะ โดยแสดงให้ลูกเห็นว่า พ่อแม่ชอบเรียนรู้ และสามารถค้นหาความรู้ได้จากแหล่งไหนได้ ซึ่งในยุคที่มี internet ไร้พรมแดนแบบนี้ไม่ยากเลยนะคะที่จะหาความรู้เพิ่มเติม แต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องทำการบ้านหน่อยค่ะ ว่าแหล่งความรู้ไหนน่าเชื่อถือ และเราจะเลือกพิจารณาความน่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง 
  1. #ให้กำลังใจ ไม่ว่าวัยไหนทุกคนต้องการกำลังใจทั้งนั้นนะคะ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะเป็นฐานกำลังหลักในการให้กำลังใจลูก ไม่ละเลยที่จะชมเชยเมื่อลูกทำดี แม้ว่าอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก เช่น อาจจะไม่ได้เรียนได้ที่ 1 แต่อย่าลืมมองที่ความพยายามของลูก ให้ลูกรู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่คือลมใต้ปีกที่คอยสนับสนุนเสมอ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ละเลยแล้ว ลูกก็จะไปหาสิ่งนั้นจากคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน แฟน หรือคนอื่นนอกบ้าน และวันหนึ่งลูกก็อาจจะไม่ต้องการกำลังใจจากคุณอีกเลย อย่าให้ถึงวันนั้นเลยนะคะ 
  1. #สร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน สนับสนุนให้ลูกเรียนรู้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จะต้องทำบ้านให้เป็นห้องสมุด มีอุปกรณ์การเรียนเยอะแยะมากมายแบบนั้น หรือว่าให้ลูกเรียนอย่างเดียวโดยที่ไม่ต้องรับผิดชอบตัวเองหรืองานบ้านนะคะ แต่หมายถึง ทำบ้านให้น่าอยู่ ทำบ้านให้เป็นบ้าน ทำบ้านให้คนอยู่แล้วสบายใจ คิดบวกส่งพลังบวกให้แก่กัน ถ้าใครนึกไม่ออกว่าจะส่งพลังบวกให้คนอื่นยังไง ลองตามช่อง Cullen Hateberry แล้วจะรู้ว่า การเป็นคนที่ไม่ toxic ทำให้คนที่อยู่ด้วยสบายใจมากขนาดไหนนะคะ 
          หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ 
          หมอเมษ์
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่
เรื่องอื่นๆของ ใกล้มิตรชิดหมอ
Advertisements
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สินบนหรือรางวัล แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีต่อพัฒนาการของลูกมากกว่า ? อัปเดตล่าสุด 21 มิถุนายน 2567 เวลา 15:03:29 1,933 อ่าน
TOP