ประวัติครัวซองต์ รู้ไหม ? แหล่งกำเนิดครัวซองต์ชิ้นแรกไม่ใช่ที่ฝรั่งเศส

เรื่องเล่าจากดาวนี้

ดาวดวงนี้มีเรื่องราวที่น่าจดจำและแฝงไปด้วยมุมมองที่น่าสนใจมากมาย เราจึงอยากแบ่งปันเรื่องราว แนวคิดและมุมมองดี ๆ เหล่านั้นผ่านช่องทางนี้

          แหล่งให้กำเนิดของครัวซองต์ชิ้นแรกไม่ใช่ที่ฝรั่งเศส
ครัวซองต์

          เมื่อนึกถึงครัวซองต์ที่สดใหม่ หลายคนคงนึกภาพปารีสขึ้นมาเป็นอันดับแรก พร้อมบรรยากาศจิบชาตอนเช้าอันแสนผ่อนคลาย ฝั่งซ้ายบนโต๊ะกลมเล็ก ๆ มีหนังสือเล่มโปรด และเครื่องดื่มร้อน ๆ พร้อมด้วยครัวซองต์เนยหอม ๆ อุ่น ๆ กรอบนอก นุ่มใน เพลิดเพลินเหนือจินตนาการ

          หากต้องเล่าถึงการทำครัวซองต์ชิ้นแรก คงต้องเริ่มเล่าจากภาษาศาสตร์กันก่อน ครัวซองต์เป็นรูปแบบหนึ่งของ ขนมอบสไตล์ เวียนนา ซึ่งแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับเมืองเวียนนาของออสเตรีย หรือที่รู้จักกันว่าเป็นแหล่งกำเนิดของครัวซองต์

          ครัวซองต์ เดิมถูกเรียกว่า kipferl ขนมรูปพระจันทร์ ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 13 ในยุคนั้น kipfer มีรูปทรงและขนาดที่หลากหลาย อีกทั้งครัวซองต์ยังเต็มไปด้วยถั่วหรือวัตถุดิบธัญพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ Kipferl ยังมีความเป็นไปได้ว่าถูกพบในอียิปต์ยุคโบราณทว่ายังไม่มีหลักฐานชี้ชัด

          สำหรับรูปแบบของ rugelach หรือ kipfer เป็นขนมของชาวยิวที่มีต้นกำเนิดจาก Ashkenazic ขนมมีความแน่นและหวานกว่าครัวซองต์สมัยใหม่ ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 17 แป้งที่ใช้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปและสูตรดั้งเดิมนี้ก็ได้ถูกบันทึกไว้เป็นครั้งแรก ตามตำนานเล่าว่า คนทำขนมปังชาวเวียนนาที่ทำงานตลอดทั้งคืนได้ยินพวกเติร์กที่พยายามเจาะอุโมงค์ใต้เมืองระหว่างการบุกรุกในปี 1683 พวกเขาแจ้งเตือนผู้พิทักษ์ของเมือง เพื่อให้ชาวเมืองพ้นจากการล้อมโจมตีของออตโตมัน ในการเฉลิมฉลอง คนทำขนมปังได้ทำขนมรูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เด่นบนธงชาติตุรกี คำภาษาเยอรมัน kipferl หรือ พระจันทร์เสี้ยว นับแต่พ้นวิกฤตออกมาได้ kipferl ก็กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของเวียนนาที่รอดพ้นจากชาวเติร์ก

          สำหรับครัวซองต์ในฝรั่งเศสเกิดจากคนทำขนมปังชื่อ August Zang Zang เขาเป็นเชฟชาวออสเตรีย ที่เข้ามาเปิดร้านขนมปังในปารีสช่วงต้นทศวรรษ 1800 โดยตั้งชื่อร้านว่า Boulangerie Viennoise เป็นชื่อแบบเวียนนาพื้นเมือง Zang เสิร์ฟขนมขึ้นชื่อของเวียนนามากมายรวมถึง kipferl ในร้านของเขาด้วย

          หลังจากเปิดได้ไม่นาน Zang ก็ได้นำเอาเตาอบไอน้ำที่ได้รับการจดสิทธิบัตรของเขามาใช้ภายในร้านเพื่อทำขนมปังเวียนนา ทว่าเตาอบที่ใช้หญ้าแห้งชื้นเพื่อให้ขนมอบมีประกายเงางาม กลับทำให้เนื้อขนมปังเปลี่ยนไป โดยเฉพาะ kipferl ที่ภายนอกกรอบ แต่ภายในนุ่มขึ้น ต่างจากสูตรดั้งเดิม ดังนั้นเขาจึงทำให้ kipferl หวานกว่าแบบดั้งเดิม และด้วยรสชาติ รูปลักษณ์ที่มีเสน่ห์ ชาวปารีสจึงเริ่มเรียกขนมชนิดนี้ว่า ครัวซองต์ เพราะรูปร่างเสี้ยวที่คล้ายพระจันทร์บนท้องฟ้า และได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Croissant “ครัวซองต์” มีความหมายว่า “พระจันทร์เสี้ยว”)

          ในที่สุดปี 1915 คนทำขนมปังชาวฝรั่งเศสชื่อ Sylvain Claudius Goy จึงเริ่มเขียนสูตรขนมครัวซองต์ไว้ ทำให้ขนมชนิดนี้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ชื่นชอบมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนั่งกินพร้อมเครื่องดื่มสุดโปรดอุ่น ๆ สักถ้วยในตอนเช้า

          อีกตำนานหนึ่งเล่าถึงราชินีฝรั่งเศส Marie Antoinette หลังจากที่พระนางแต่งงานกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ได้ไม่นาน พระนางก็ทรงคิดถึงบ้านและอยากลิ้มรสชาติขนมเวียนนาอีกครั้ง ด้วยการนี้ พระนางจึงแนะนำ kipfel ให้กับเชฟชาวฝรั่งเศส แต่ เชอวาลิเยร์ ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่จะสนับสนุนแนวคิดนี้ ตำนานนี้จึงเป็นเพียงเรื่องเล่าขานที่เล่าสืบต่อกันมา

          “หลายครั้งความบังเอิญก็มักนำมาซึ่งเรื่องดี ๆ ดังเช่นเรื่องราวของการทำครัวซองต์”

Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่
เรื่องอื่นๆของ เรื่องเล่าจากดาวนี้
Advertisements
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ประวัติครัวซองต์ รู้ไหม ? แหล่งกำเนิดครัวซองต์ชิ้นแรกไม่ใช่ที่ฝรั่งเศส อัปเดตล่าสุด 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14:24:30 4,786 อ่าน
TOP