กว่าจะเป็นหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก เรื่องนี้ที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด

เรื่องเล่าจากดาวนี้

ดาวดวงนี้มีเรื่องราวที่น่าจดจำและแฝงไปด้วยมุมมองที่น่าสนใจมากมาย เราจึงอยากแบ่งปันเรื่องราว แนวคิดและมุมมองดี ๆ เหล่านั้นผ่านช่องทางนี้

          #การต่อสู้เพื่อประดิษฐ์หม้อหุงข้าวอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก
หม้อหุงข้าว

          คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าแนวคิดของการสร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร? วันนี้เรื่องเล่าจากดาวนี้จะพาไปเจาะลึกในหัวข้อนี้กัน และเรื่องราวต้นกำเนิดที่คุณจะได้อ่านคุณต้องคาดไม่ถึงแน่ ๆ อ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วคุณจะเข้าใจ 
          หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในญี่ปุ่นมีวิธีการหุงข้าวแบบโบราณซึ่งเรียกว่า คามาโดะ คือการใช้หม้อเหล็กหนา ๆ หุงข้าวด้วยความร้อนทีละน้อย แต่การทำเช่นนี้จำเป็นต้องค่อย ๆ เติมฟืนเป็นระยะ ๆ และต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการหุงข้าวให้สุก 
          ซึ่งวิธีนี้ผู้หญิงญี่ปุ่นจึงต้องตื่นเช้าและก่อไฟเป็นเวลา 15 นาที ก่อนที่จะเริ่มหุงข้าวได้ วิธีการหุงข้าวแบบ คามาโดะ ยังถูกทำให้เป็นบทเพลงเพื่อสอนคนรุ่นหลังว่า “ฮาจิเมะ โคะโระ โคะโระ นากะ ปับปะ บุตสึ บุตสึ อิอุ โคโระ ฮิ โอะ ฮีเตะ” หมายถึง “การหุงข้าวต้องเริ่มจากไฟอ่อน ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มความร้อน ลดไฟลงอีกทีในตอนที่หม้อข้าวมีฟองปุด ๆ ขึ้นมา” ในปี 1945 ระหว่างที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญสงครามและขาดแคลนเงินสด ประชาชนจึงต้องใช้ข้าวสารแทนเงินสด ในช่วงนั้นโรงงานมากมายในญี่ปุ่นก็เริ่มปิดตัวลงทำให้การใช้ไฟฟ้าภายในประเทศลดน้อยลง และมีราคาถูก 
          ในเวลาเดียวกันวิศวกรชื่อ Masaru Ibuka ได้เปิดประชุมเชิงปฏิบัติเรื่องการซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน รวมถึงวิทยุภายในญี่ปุ่น โดยเลือกใช้ห้องสวิตช์บอร์ดโทรศัพท์ที่ถูกทิ้งร้างในห้างสรรพสินค้าเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของเขา หนึ่งปีต่อมา (1958) Ibuka ได้เขียนคำที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของบริษัท และเป็นที่รู้จักในชื่อ Sony 
          ระหว่างปฏิบัติงาน พนักงานของ Ibuka ได้ออกไปซ่อมวิทยุตามบ้าน และรับข้าวสาร (ของล้ำค่าในช่วงยุคขาดแคลน) กลับมาเป็นจำนวนมากแทนค่าจ้าง “ผมจำได้ว่า ผมนั่งอยู่ในโรงงานชั้นสามที่ ชิโรกิยะ วันแล้ววันเล่าผมมักได้กินข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ ไม่เหมาะสมที่จะกินอยู่เสมอ” Ibuka เล่า ด้วยเหตุนี้แนวคิดในการสร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจึงเกิดขึ้น
          Ibuka พยายามคิดค้นและทดลองด้วยการใช้ข้าวที่ได้จากตลาดมืด ในเวลานั้นเครื่องรุ่นทดลองยังถูกกองทัพนำไปใช้ระหว่างสงครามด้วย แต่ผลของการทดลองกลับไม่เป็นผลดีนัก เขาจึงท้อแท้และกลับไปพัฒนา วิทยุ สร้างโทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ แทน ช่วงเวลาเดียวกัน โตชิบา ได้ออกมาโปรโมตตู้เย็น และเครื่องซักผ้าไฟฟ้าเครื่องแรกของญี่ปุ่น ในปี 1930 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก 

          ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 Shogo Yamada เดินทางไปญี่ปุ่น เพื่อโปรโมตเครื่องซักผ้าไฟฟ้าของโตชิบา รุ่นใหม่ ระหว่างทางเขาได้พบปัญหาของแม่บ้านเกี่ยวกับงานที่หนักใจที่สุด คือการที่หุงข้าวแบบ คามาโดะ วันละ 3 ครั้ง ไอเดียการทำหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจึงเริ่มขึ้น ในเวลาเดียวกัน Yoshitada Minami ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำอุ่นที่โชคไม่ดีสร้างงานชิ้นนี้ไม่สำเร็จ ได้มาหา Yamada เพื่อหางานทำ

          Yamada ที่ทราบถึงความสามารถจึงตัดสินใจส่งต่อโครงการทำหม้อหุงข้าวไฟฟ้าให้ Minami ได้สานต่อเนื่องจากการหุงข้าวเป็นงานของผู้หญิง แต่งานนี้ใช้เวลามากไปและต้องทำงานหน้าเตาเป็นเวลานาน Minami จึงให้ภรรยาของเขาใน ฟุมิโกะ ช่วยทำการวิจัยร่วมด้วย

          แม้ที่ผ่านมาการประดิษฐ์หม้อหุงข้าวที่ โตชิบา ไม่ได้รับความสำคัญนัก เนื่องจากหัวหน้างานของ Yamada ได้เห็น Mitsubishi และ Matushita (ซึ่งกลายเป็น Panasonic) ล้มเหลวในการสร้างเครื่องซักผ้าไฟฟ้าอัตโนมัติ อีกทั้งพวกเขายังเชื่อว่าผู้หญิงคนใดก็ตามที่สละเวลา สละความพยายาม ในการหุงข้าวให้สมบูรณ์ คือ 'แม่บ้านที่ล้มเหลว' คำวิจารณมากมายจึงเริ่มขึ้น
          โดยสรุป โตชิบา ใช้เวลากว่า 5 ปีในการสร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จนเมื่อ Yamada ได้พบวิธี “double-pot indirect cooking” คือการเติมน้ำลงในหม้อข้าวตามระดับ และเมื่อน้ำถูกดูดซับหรือระเหยออกไปอุณหภูมิของภาชนะจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (อุณหภูมิของน้ำโดยทั่วไปไม่เกิน 100 ℃ แต่อุณหภูมิของข้าวสามารถทนได้มากกว่านั้น) และเมื่อน้ำระเหยหมดระบบก็จะหยุดทำงาน ความมหัศจรรย์ในทฤษฎีนี้ ทำให้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเครื่องแรกสำเร็จได้ นอกจากนี้ Yamada ยังได้เพิ่มแถบ bimetallic เพื่อใช้ปิดหม้อหุงข้าวด้วยการดัดลงเพียงครั้งเดียว 
          ในปี 1960 หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเริ่มถูกผลิตออกมาขายในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก 88 % ของแม่บ้านญี่ปุ่นจึงมีหม้อหุงข้าวไฟฟ้าติดบ้านไว้ ทว่าหลังจากนั้นปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้น ในปี 1965 ทางบริษัท โซจิรูชิ พบว่าหม้อหุงข้าวเก็บความร้อนได้ไม่ดีนัก ทำให้ข้าวที่หุงสุกเย็นเร็วเกินไป โซจิรูชิ (Zojirushi Thermos) จึงได้พัฒนาฟังชั่นสำหรับอุ่นข้าวในหม้อหุงข้าวขึ้น เพื่อให้แม่บ้านสามารถหุงข้าวในตอนกลางคืนและได้ทานข้าวสวยร้อน ๆ ในตอนเช้า หลังจากนั้นหม้อหุงข้าวก็ถูกพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
          “แม้ความพยายามจะไม่ได้การันตีว่า “เราจะไม่พ่ายแพ้” แต่ที่แน่ ๆ คือ ความท้อแท้ ก็ไม่เคยทำให้ใครชนะเช่นกัน”

ที่มา :

ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่

          หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดี ๆ ได้ใน Comments นี้เลย
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่
เรื่องอื่นๆของ เรื่องเล่าจากดาวนี้
Advertisements
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กว่าจะเป็นหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก เรื่องนี้ที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด อัปเดตล่าสุด 26 มิถุนายน 2566 เวลา 13:40:10 3,186 อ่าน
TOP