เล่าที่มาของ SOS สัญญาณขอความช่วยเหลือที่ถูกใช้เมื่อครั้งเรือไททานิคจม

ดาวดวงนี้มีเรื่องราวที่น่าจดจำและแฝงไปด้วยมุมมองที่น่าสนใจมากมาย เราจึงอยากแบ่งปันเรื่องราว แนวคิดและมุมมองดี ๆ เหล่านั้นผ่านช่องทางนี้

SOS จึงถูกนำมาใช้จริงในปี 1908 แต่การยอมรับโดยสถานีเดินเรือนั้นช้ามาก ทำให้รหัสนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก จนเมื่อถึงช่วงที่เรือไททานิคจมลงในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 เวลานั้นเครื่องวิทยุโทรเลขไร้สายถูกนำขึ้นเรือเป็นครั้งแรก อีกทั้งเรือไททานิคที่กำลังจะจมทำให้กะลาสีเรือที่ตกอยู่ในอันตรายจำเป็นต้องหาวิธีเอาตัวรอด ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไป
พวกเขาต้องการสัญญาณเฉพาะที่จะส่งสัญญาณได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว โดยไม่ทำให้ผู้รับสารสับสนกับการสื่อสารอื่น ๆ องค์กรและประเทศต่าง ๆ มีสัญญาณ “ภายใน” ของตนเอง อาทิ กองทัพเรือสหรัฐใช้ “NC” ซึ่งเป็นสัญญาณธงทางทะเลสำหรับสัญญาณระหว่างประเทศ บริษัท Marconi ซึ่งให้เช่าอุปกรณ์และผู้ให้บริการโทรเลขแก่เรือหลายลำใช้ “CQD” “กฎข้อบังคับของเยอรมันสำหรับการควบคุมการส่งสปาร์คโทรเลข” ในปี 1905 กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานชาวเยอรมันทุกคนใช้รหัสมอส “…---…” SOS เพื่อแก้ไขปัญหาการตีความหมายที่คลาดเคลื่อน
ด้วยเหตุนี้ประเทศต่าง ๆ จึงตัดสินใจรวมตัวกันและหารือเกี่ยวกับแนวคิดในการวางระเบียบระหว่างประเทศบางประการสำหรับการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลข ในปี พ.ศ. 2449 การประชุมโทรเลขไร้สายระหว่างประเทศจัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน และผู้แทนได้พยายามสร้างการแจ้งเหตุร้ายแรงต่าง ๆ ตามมาตรฐานสากล “-.-.--.--..” ของ Marconi และ “………..-..-..” (“SSSDDD”) ซึ่งอิตาลีเสนอในการประชุมครั้งก่อนว่ายุ่งยากเกินไป แตกต่างจาก “…---…” (SOS) ของเยอรมนีที่สามารถส่งได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย รวมถึงแปลความหมายผิดได้ยาก
ที่มา :
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
- Facebook : https://www.facebook.com/fromthisstar
- Blockdit : https://www.blockdit.com/fromthisstar
- Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCnJ-nawjrUuhDDiLLrOHQAw
- Instagram : https://www.instagram.com/fromthisstar/
- TikTok : https://vt.tiktok.com/ZSJSpnyCT/
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดี ๆ ได้ใน Comments นี้เลย