ย้อนอดีตลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ระบบการปกครองที่รัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา

เพจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์น่ารู้ต่างๆ ทั่วโลก เพราะประวัติศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

          สรุป “ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)”
ลัทธิฟาสซิสต์

ภาพจาก : Everett Collection / Shutterstock.com

          “ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)” อาจจะเป็นคำคุ้นหูของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่สนใจเรื่องการเมืองการปกครองหรือรัฐศาสตร์ คำคำนี้น่าจะต้องเคยผ่านหูมาหลายครั้ง
          ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นระบบการปกครองที่รัฐมีอำนาจทุกอย่าง เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และประชาชนทุกคนต้องทำงานรับใช้ชาติและรัฐบาล
          ผู้บริหารประเทศคือเผด็จการหรือผู้มีอำนาจ โดยผู้ปกครองจะใช้กำลังตำรวจและทหารในการรักษากฎหมายและบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่ง
          เผด็จการซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศนั้น มักจะเป็นผู้ที่ประชาชนส่วนใหญ่ชื่นชอบในทีแรก และมีภาพลักษณ์แห่งความเป็นผู้นำ น่าเชื่อถือ
          ลัทธิฟาสซิสต์เริ่มปรากฏโฉมครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อ “Benito Mussolini” ขึ้นมาครองอำนาจในอิตาลี
          ในขณะที่ยุค 30 (พ.ศ.2473-2482) “Adolf Hitler” และพรรคนาซีก็ได้ขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี ก่อนที่จะแพร่ไปยังประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น อาร์เจนตินา
          รัฐบาลฟาสซิสต์จะควบคุมทุกการกระทำของประชาชน หากใครไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลจะต้องถูกลงโทษ อาจจะจำคุกหรือประหาร หลายรายก็ถูกไล่ออกนอกประเทศ
          ผู้นำฟาสซิสต์ต้องการให้ชาติของตนนั้นยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง และเชื่อว่ามีแต่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้นจึงจะรอด ชาติเหล่านี้จึงมีการทำสงครามเพื่อขยายดินแดน
          ในโรงเรียนของชาติที่เป็นฟาสซิสต์ อาจารย์จะสอนนักเรียนว่าไม่มีสิ่งใดสำคัญกว่าชาติ อีกทั้งมีการสอนให้เด็กร้องเพลงและท่องคำขวัญของประเทศ ให้ซึมซับความรักชาติ และสั่งสอนให้เด็กเชื่อฟังคำสั่งของผู้นำ
          ในประเทศที่เป็นฟาสซิสต์ ไม่มีพรรคการเมืองคู่แข่ง อีกทั้งรัฐบาลยังควบคุมสื่อทุกชนิด ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ล้วนถูกควบคุมจากรัฐบาล
          ลัทธิฟาสซิสต์ได้รับความนิยมมากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยเหตุผลหลายอย่าง
          ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าประเทศส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับระบอบประชาธิปไตยเนื่องจากถูกปกครองโดยราชวงศ์มาเป็นเวลานาน อีกทั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้คนในหลายประเทศต่างโกรธแค้น เนื่องจากสงครามทำให้ประเทศของตนเสียหายและเกิดการสูญเสียมากมาย
          อิตาลี เป็นหนึ่งในชาติที่ไม่พอใจกับสภาพบ้านเมืองของตนหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และ Mussolini ก็เหมือนอัศวินขี่ม้าขาวที่โผล่ออกมาช่วยเหลือประเทศชาติ โดยเขาได้สัญญาว่าจะกู้คืนศักดิ์ศรีของอิตาลี และทำให้อิตาลีกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
ลัทธิฟาสซิสต์

          Mussolini ได้ก่อตั้งกองทหารของตนเองขึ้นมา ซึ่งทหารของเขาล้วนแต่ดุดัน เข้มแข็ง และในที่สุด ค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) Mussolini ก็ได้ขึ้นเป็นเผด็จการแห่งอิตาลี
          อีกหนึ่งชาติที่เสียหายหนักจากสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเยอรมนี
          เยอรมนีต้องเสียดินแดนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอีกมหาศาล ทำให้เศรษฐกิจเยอรมันนั้นพินาศ
          ในยุค 20 (พ.ศ.2463-2472) และ 30 (พ.ศ.2473-2482) ได้เกิดพรรคการเมืองใหม่ซึ่งกำลังมาแรงมากในเยอรมนี
          นั่นคือ “พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (National Socialist German Workers' Party)” หรือ “นาซี (Nazi)”
          “Adolf Hitler” ได้ทำการยุบสภา ยึดอำนาจ และทำให้เยอรมนีเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบฟาสซิสต์ และได้สร้างกองทหารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
          Hitler เชื่อว่าชาวเยอรมันนั้นดีกว่า เก่งกว่าชนชาติอื่นๆ ในขณะที่ชนชาติอื่นๆ โดยเฉพาะชาวยิว คือชนชั้นต่ำและควรต้องกำจัดทิ้ง
          พรรคนาซีได้ฆ่าชาวยิวไปกว่าหกล้านคนตลอดระยะเวลาของสงครามโลกครั้งที่ 2
          สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมนี และระบอบฟาสซิสต์ในเยอรมนีก็ถึงคราวอวสาน
          ญี่ปุ่นเองก็ย่ำแย่ไม่ต่างจากเยอรมนี เศรษฐกิจทรุดโทรม ผู้คนอดอยาก ชาวญี่ปุ่นหลายคนต่างอยากให้กองทัพทำการล้มรัฐบาลและนำพาประเทศสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง
          ในยุค 30 (พ.ศ.2473-2482) ญี่ปุ่นเริ่มจะขยายอำนาจเข้าไปในประเทศอื่นๆ และต้องการให้เอเชียทั้งหมดตกเป็นของญี่ปุ่น
          ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลัทธิฟาสซิสต์ก็ได้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายๆ ประเทศ หากแต่ลัทธิฟาสซิสต์ก็ยังไม่ได้หายไปหมดซะทีเดียว
          กลุ่ม “นีโอฟาสซิสต์ (Neo-fascist)” ได้เกิดขึ้น และแพร่กระจายไปทุกมุมโลก โดยต่างก็มีอุดมการณ์ที่สุดขั้ว
          กลุ่มนีโอฟาสซิสต์ต้องการให้เข้มงวดเรื่องกฎหมายรับคนเข้าเมือง ไม่มีการรับชาวต่างชาติเข้าประเทศ และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศของตนก็ต้องออกจากประเทศ
          นอกจากนั้น พวกเขายังคิดว่าไม่ควรมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอื่นๆ และคิดว่าควรจะให้อำนาจตำรวจในการรักษากฎหมายมากขึ้น
          นี่ก็พอจะสรุปคร่าวๆ ถึงลัทธิฟาสซิสต์ และลัทธินี้ดีหรือเลว ก็คงต้องขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน

References :

Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่
เรื่องอื่นๆของ ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา
Advertisements
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ย้อนอดีตลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ระบบการปกครองที่รัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อัปเดตล่าสุด 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 11:37:10 2,134 อ่าน
TOP