นอกจากจะต้องทำความเข้าใจว่า “คนอื่นมักจะสะท้อนความคิด จากทัศนคติส่วนตัว” มากกว่าพูดถึงเราตรงๆ บางครั้ง เราก็ต้องเตือนตัวเองด้วยเหมือนกันว่า
“อย่าเอาทัศนคติ และความคิด รวมถึงมาตรฐานของตัวเอง” ไปกดทับสิ่งที่คนอื่นทำเช่นกัน
เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า “ยังมีปัจจัยอื่นที่เราไม่รู้อีกรึเปล่า ถ้ามี มีเยอะแค่ไหน”
พอถึงจุดจุดหนึ่ง เราจะใส่ใจกับเสียงรอบข้างน้อยลง และใส่ใจกับสิ่งที่ตนเองสนใจมากขึ้น
จริงๆ หากแบ่งช่วงเวลาเป็น 3 ช่วง (หนังสือ “ไม่สำคัญว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา”)
(1) ช่วงอายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น 18+ : วัยที่เสียงรอบข้างมีอิทธิพลต่อชีวิตสูงมาก โดยเฉพาะเสียงที่มาจากคนรอบตัว หลายครั้งเราก็ให้ความสำคัญกับเสียงเหล่านี้มากกว่าเสียงในใจของเราเอง ทำให้เราพลาดหลายสิ่งในชีวิต
(2) ช่วงอายุที่มากพอจะก้างสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว 40+ : เสียงคนอื่นจะมีผลกับเราน้อยลง ขณะที่เสียงของเราจะดังขึ้น เราจึงค่อยๆ ลงมือทำสิ่งต่างๆ ที่เลื่อนมาจากช่วงแรกของการเริ่มต้นทำหลายอย่างด้วยตัวเอง
(3) ช่วงที่ผ่านร้อนหนาวมาหมดแล้ว 60+ : ไม่ว่าจะเสียงคนรอบข้าง หรือเสียงของตัวเอง เราจะรับฟังน้อยลง แต่.. เราจะใส่ใจความสำคัญของสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจมากขึ้น
บางทีเราเองไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวัยไหนเลย การตัดสินใจจะรับฟังหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นสะท้อนความคิดของคนที่พูดอย่างไรต่างหาก บางทีต่อให้น้ำเสียงและคำพูดไม่ชวนฟัง แต่... หากฟังด้วยใจที่อยู่ตรงกลางบ้าง เสียงนั้นอาจจะมีคุณค่าก็ได้ กลับด้านกัน เสียงไพเราะชวนฟัง แต่... เนื้อในอาจจะไม่ให้ความรู้สึกถึงเราโดยตรง คำพูดนี้ก็อาจจะไม่มีความหมายได้เช่นกัน
ไม่สำคัญว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา I Don’t Care
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่