50 ข้อที่ได้จาก “90 เทคนิคพูดกับใครก็ได้สบายใจจัง”

- การคุยไม่เก่ง ≠ คุยไม่ได้ (เป็นตัวเองให้ธรรมชาติ... เราก็พูดคุยได้ดีขึ้น)
- ไม่ต้องฝืนเป็นคนพูดเก่ง (ปล่อยให้บทสนทนาเป็นฝ่ายนำเรา..)
- การเงียบไม่ใช่ความล้มเหลว (เพราะช่องว่างระหว่างนั้น รอให้เราเติมด้วยคำพูดและเรื่องที่น่าสนใจ)
- คนพูดน้อยก็มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง (้ราอาจจะฟังเก่งกว่าก็ได้นะ)
- ความเข้าใจสำคัญกว่าการเอาแต่พูด
- พูดไม่เยอะ แต่... จริงใจไม่ก้าวร้าว = คำพูด..น่าฟัง
- คุยไม่เก่ง ≠ ไม่มีอะไรดี (อย่าคิดเยอะ)
- คนพูดเก่งก็เคยประหม่ามาก่อน...
- ไม่ต้องเปลี่ยนตัวเอง แค่... เปลี่ยนวิธีการมองใหม่
- คำพูดไม่ต้องสวยหรู ขอให้จริงใจและไม่หลอกลวงกัน
- ฟังมากกว่า... พูด ก็ทำให้บทสนทนาไหลลื่นได้
- การพยักหน้า รับคำสั้นๆ เช่น “อืม”, “เข้าใจ” ช่วยเชื่อมต่อบทสนทนาได้
- ฟังแบบไม่ขัดจังหวะ = เคารพต่อคู่สนทนา
- ถ้าฟังจน... เข้าใจ จุดร่วมระหว่างการพูดคุยจะปรากฏขึ้นมาเอง
- การรับฟัง... เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา
- เวลาฟัง อย่าเอาเรื่องตัวเองแทรกตลอด เพราะจะทำให้บทสนทนาสะดุด
- ฟังแล้วตอบกลับด้วยความเข้าใจ เช่น “รู้สึกแบบนั้นเหรอ” ช่วยให้คู่สนทนารู้ว่าเราใส่ใจ
- การฟัง... เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน
- ฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่จับผิด
- บางครั้งความเงียบ... ก็ทำให้คู่สนทนายอมเปิดใจพูดคุยกับเราได้
- ถาม “ความรู้สึก” มากกว่า “ข้อมูล” เพราะเราต้องการรับฟังเพื่อเข้าใจคู่สนทนา
- ถามว่า “ช่วงนี้มีอะไรดีๆ บ้าง” เพื่อต่อบทสนทนาให้น่าสนใจ
- หลีกเลี่ยงคำถามที่กดดัน หรือยุติบทสนทนา
- คำถามที่ดี = คำถามที่อีกฝ่ายอยากตอบ
- ถ้าอีกฝ่ายเงียบ ไม่จำเป็นต้องเร่งให้เขาตอบกลับ
- ใช้คำถามเปิด เช่น “คิดยังไงกับ…” เพื่อรับฟังมุมมองของคู่สนทนา
- ถามต่อจากสิ่งที่เขากำลังเล่าอยู่ อย่ารีบเร่งเปลี่ยนเรื่องทันที
- ถามแบบอยากรู้จริงๆ
- ถามแล้ว “หยุด” เพื่อรอฟังคำตอบอย่างตั้งใจ
- อย่าถามเพื่อจับผิด
- ใช้ภาษาธรรมดา
- พูดด้วยน้ำเสียงปกติ
- ยิ้ม.. ขณะพูดในบทสนทนาที่ไม่ต้องซีเรียส จะช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลาย
- ถ้านึกไม่ออกว่าจะพูดอะไร ลองเปรยๆ ออกมาก็ได้ว่า “ตอนนี้ยังนึกไม่ออกเลยว่าจะพูดอะไรดี”
- ไม่ต้องรีบตอบ คิดก่อนแล้วค่อยตอบก็ได้
- แชร์สิ่งเล็กๆ ที่พบเจอในแต่ละวัน ก็ทำให้มีเรื่องพูดคุยกันได้
- บอกความรู้สึกของตัวเอง เช่น “รู้สึกดีที่ได้คุยนะ”
- ถ้าบรรยากาศเงียบไปบ้าง ก็พูดว่า “อยู่ด้วยแบบนี้ก็สบายดีนะ”
- พูดขอบคุณให้บ่อย
- เวลาขอโทษ ให้พูดแบบอ่อนโยน เช่น “ขอโทษนะ เราอาจพูดไม่ดีไป”
- ไม่จำเป็นต้องสนุกเสมอ แค่จริงใจก็พอ
- เลือกคุยกับคนที่เราสบายใจ
- ถ้าคุยกับคนเยอะๆ ไม่ไหว ก็เลือกคุยทีละคน
- ถ้าไม่ไหวจริงๆ ให้ขอตัวอย่างสุภาพ เช่น “ขอตัวไปพักก่อนนะ”
- บอกความรู้สึกตรงๆ ว่า “เราเป็นคนที่ค่อนข้างเงียบและคุยไม่ค่อยเก่ง”
- ไม่ต้องคุยอยู่ตลอดเวลา แต่ทุกครั้งที่พบเจอก็สามารถพูดคุยและสื่อสารกันได้อย่างปกติ ก็รักษาความสัมพันธ์ได้
- ปล่อยให้การคุยมีช่วงเวลาที่เงียบ บ้างก็ได้
- การสบตาสั้นๆ ก็สื่อสารได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง
- ใช้การพิมพ์แทนบ้างก็ได้
- การคุยที่ดี = ความสบายใจทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่การเอาชนะกัน
50 ข้อที่ได้จาก “90 เทคนิคพูดกับใครก็ได้สบายใจจัง”
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่