การแข่งขันของ 2 นักวิทยาศาสตร์ ผู้เป็นจุดกำเนิดของสงครามนิวเคลียร์ในช่วงสงครามโลก

ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา

เพจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์น่ารู้ต่างๆ ทั่วโลก เพราะประวัติศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

          สงครามนิวเคลียร์ระหว่าง 2 นักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่อง
          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดในช่วงสงคราม เห็นจะไม่พ้นสองท่านนี้
          "แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ค (Werner Heisenberg)" และ "เจ. โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer)"
          ทั้งไฮเซินแบร์คและออปเพนไฮเมอร์มีส่วนสำคัญในการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เข้มข้นที่สุดช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์
          ไฮเซินแบร์คเป็นชาวเยอรมัน ส่วนออปเพนไฮเมอร์นั้นมาจากสหรัฐอเมริกา และต่างก็เชื่อในศักยภาพของฟิสิกส์ควอนตัม อีกทั้งยังเห็นตรงกันว่าสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนโลกได้ หากแต่เส้นทางของทั้งสองนั้นแตกต่างกัน
ออปเพนไฮเมอร์

ภาพจาก : MM memo / Shutterstock.com

          ไฮเซินแบร์คตั้งใจจะใช้ความรู้ของตนช่วยเหลือประเทศชาติด้วยการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ ในขณะที่ออปเพนไฮเมอร์ได้รับงานสำคัญ นั่นคือการสร้างอาวุธที่มีความร้ายแรงสูงและทำให้สงครามจบลง
          นักวิทยาศาสตร์ทั้งคู่ต่างเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งอนาคตของพลังงานนิวเคลียร์
          มาดูกันที่เรื่องราวของไฮเซินแบร์ค เขาเกิดในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1901 (พ.ศ.2444) ที่เยอรมนี โดยเขาเป็นเด็กที่สงสัยใคร่รู้ ชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มาตั้งแต่ยังเยาว์ และเป็นเด็กหัวกะทิคนหนึ่ง
ออปเพนไฮเมอร์

ภาพจาก : Mirt Alexander / Shutterstock.com

          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไฮเซินแบร์คเดินทางไปสหรัฐอเมริกา โดยเขามาประชุมเรื่องของพลังงานนิวเคลียร์และสามารถจะหลบภัยสงครามมาอยู่สหรัฐอเมริกาเลยก็ได้ หากแต่ก็ตัดสินใจจะกลับไปยังเยอรมนี
          ในงานสัมมนาที่สวิตเซอร์แลนด์ ไฮเซินแบร์คได้พูดเรื่องต่างๆ ที่กำลังทำ ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรพอจะได้ข้อมูลระแคะระคายว่าเยอรมนีกำลังจะทำอะไร ทางซีไอเอ (CIA) จึงส่งสายลับที่ชื่อ "โม เบิร์ก (Moe Berg)" ซึ่งสามารถพูดภาษาเยอรมันได้เข้าฟัง และสืบเรื่องนี้
          เบิร์กต้องสืบให้รู้ว่าโครงการระเบิดปรมาณูของไฮเซินแบร์คนั้นคืบหน้าไปถึงไหน และให้สังหารไฮเซินแบร์คซะ
          แต่หลังจากฟังที่ไฮเซินแบร์คพูด เบิร์กก็คิดว่าฝั่งเยอรมนียังไปไม่ถึงไหน ไม่น่าจะสร้างระเบิดปรมาณูได้ในเร็ววัน จึงตัดสินใจไม่สังหารไฮเซินแบร์ค
          ทางด้านออปเพนไฮเมอร์ เขาเกิดในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) ที่สหรัฐอเมริกา และได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนจะตกหลุมรักกับเรื่องราวของฟิสิกส์ควอนตัม และเดินทางไปทำวิจัยที่ยุโรป
          ช่วงเวลาสำคัญของออปเพนไฮเมอร์มาถึงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเขาถูกเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งยุค
ออปเพนไฮเมอร์

ภาพจาก : Prachaya Roekdeethaweesab / Shutterstock.com

          นั่นคือ "โครงการแมนแฮตตัน (Manhattan Project)"
          ในโครงการแมนฮัตตัน บทบาทของออปเพนไฮเมอร์ไม่ใช่เป็นเพียงนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งเท่านั้น หากแต่ต้องเป็นผู้นำบุคลากรในโครงการหลายๆ ส่วน ทั้งนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และบุคลากรต่างๆ โดยออปเพนไฮเมอร์ต้องแก้ปัญหาหลายๆ อย่างที่ยุ่งยาก
          ทีมของออปเพนไฮเมอร์ต้องหาแร่ยูเรเนียมมาให้ได้จำนวนมากโดยไม่ให้ฝ่ายศัตรูรู้ ก่อนที่จะค้นพบในเวลาต่อมาว่าแร่อีกชนิดหนึ่ง ชื่อว่า "พลูโตเนียม (Plutonium)" ก็สามารถนำมาใช้ผลิตระเบิดได้เช่นกัน
          หากแต่พลูโตเนียมนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่ายูเรเนียมซะอีก แต่ออปเพนไฮเมอร์ก็ไม่ยอมแพ้ เขาจำได้ว่าในงานวิจัยแรกๆ ของเขาเรื่องหลุมดำอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่เอามาใช้ได้
          ในที่สุด ออปเพนไฮเมอร์และทีมงานก็ทำในสิ่งที่คนจำนวนมากคิดว่าเป็นไปไม่ได้ นั่นคือการสร้าง "ระเบิดปรมาณู" ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด
          หากแต่สำหรับออปเพนไฮเมอร์ นี่เป็นชัยชนะที่ขมขื่น
ออปเพนไฮเมอร์

          เขารู้สึกยินดีที่สงครามจบลง แต่ก็เสียใจที่ผู้คนจำนวนมากต้องเสียชีวิตเพราะระเบิดปรมาณู และเขาก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระเบิดนี้เกิดขึ้น
          ทางด้านไฮเซินแบร์ค ก็ทำงานอย่างหนักเพื่อคิดค้นเรื่องระเบิด และทำงานต่อไปจนสงครามสิ้นสุดลง
          เมื่อถึงปีค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) สถานการณ์ฝ่ายเยอรมนีนั้นกำลังเริ่มจะแย่ ศัตรูเริ่มได้ชัยในหลายๆ พื้นที่ ชาวเยอรมันต่างเคร่งเครียด หากแต่ไฮเซินแบร์คก็ยังคงทำงานต่อไปโดยหวังว่าสถานการณ์ฝั่งเยอรมนีจะกลับมาดี
          ทางด้านสหรัฐอเมริกา โครงการแมนฮัตตันภายใต้การนำของออปเพนไฮเมอร์กำลังก้าวหน้าไปได้ดีเรื่อยๆ และใกล้จะสามารถสร้างอาวุธร้ายแรงที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ได้สำเร็จ
          เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังไล่ต้อนเยอรมนีมาติดๆ และสามารถจับกุมไฮเซินแบร์คและทีมนักวิทยาศาสตร์เยอรมันไว้ได้ ทำให้การสร้างระเบิดฝั่งเยอรมนีต้องสิ้นสุดลง ก่อนที่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) สหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จในการทดสอบระเบิดปรมาณูลูกแรก
          ระเบิดปรมาณูที่ทำการทดลองนั้นประกอบไปด้วยพลูโตเนียมจำนวนมาก และการทดลองนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างดี ระเบิดนั้นร้ายแรง ทำให้เกิดลูกไฟขนาดมหึมา ความรุนแรงเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นทีกว่า 20,000 ตัน
          เรียกได้ว่านี่คือสิ่งที่โลกไม่เคยพบเห็นมาก่อน
          ไม่กี่สัปดาห์หลังการทดสอบ สหรัฐอเมริกาก็ได้นำอาวุธใหม่นี้มาใช้ โดยมีการปล่อยระเบิดปรมาณูลงยังเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น และปล่อยลูกที่สองลงยังเมืองนางาซากิ สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นวงกว้าง
          ระเบิดปรมาณูนี้ทำให้โลกเห็นความร้ายแรงของอาวุธชนิดใหม่ และทำให้โลกเข้าสู่ยุคนิวเคลียร์อย่างแท้จริง และบุคคลที่ต้องยกเครดิตให้ ก็คงไม่พ้นออปเพนไฮเมอร์
          ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ทั้งออปเพนไฮเมอร์และไฮเซินแบร์คก็กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ หากแต่เงาทะมึนในงานที่ผ่านมายังคงติดตามทั้งสอง
          ไฮเซินแบร์คกลับไปยังเยอรมนีเพื่อช่วยในการฟื้นฟูประเทศ และยังคงทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป ในขณะที่ออปเพนไฮเมอร์มีความรู้สึกหนักอึ้งในใจ
          เขารู้สึกภูมิใจในความสำเร็จของตน แต่ก็ถูกหลอกหลอนจากความสูญเสียที่เกิดขึ้น
          เขาได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งระเบิดปรมาณู" หากแต่นามนี้ก็เป็นสิ่งที่หนักอึ้งอยู่ในใจของเขา
          เรื่องราวของสองนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนโลกไปได้มากขนาดไหน และผลของมันก็ยังเป็นที่จดจำจนถึงทุกวันนี้

References:

Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่
เรื่องอื่นๆของ ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา
Advertisements
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
การแข่งขันของ 2 นักวิทยาศาสตร์ ผู้เป็นจุดกำเนิดของสงครามนิวเคลียร์ในช่วงสงครามโลก อัปเดตล่าสุด 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 15:58:29 4,997 อ่าน
TOP