รีวิวเคหาสน์สีแดง นวนิยายสุดคลาสสิก จากความแค้นที่ก่อตัวมาจากการถูกแย่งความรัก

Books and My Quotes

เพจคุยเรื่องหนังสือ รวมเรื่องราวประทับใจจากหนังสือที่รัก จากแอดมินคนเดียวคนเดิมจากเพจซีรีส์ที่รักค่ะ

          #คุยสั้นๆถึงหนังสือในตู้ #หนังสือที่รัก#เรื่องราวระหว่างบรรทัดจากหนังสือที่รัก#เคหาสน์สีแดง #ดวงดาว
เคหาสน์สีแดง

          คุยเรื่องหนังสือคงจะไม่พ้นหนังสือนวนิยายเหมือนเดิมค่ะ เพราะชอบอ่านนวนิยาย จึงมีหนังสือประเภทนี้มากที่สุด
          วันนี้หยิบนวนิยายจากนักเขียนเก่าเช่นเคย เป็นนวนิยายคลาสสิคที่ครั้งแรกได้ดูละครก่อน แล้วค่อยตามหานวนิยายมาอ่าน
          นวนิยายเรื่อง "เคหาสน์สีแดง" เป็นบทประพันธ์ของ "ดวงดาว" นามปากกาของ หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร (28 เมษายน พ.ศ. 2454 — 1 กันยายน พ.ศ. 2544) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ประสูติแต่หม่อมช้อย ประวิตร ณ อยุธยา มีผลงานที่มีชื่อเสียง อาทิ "ผยอง", "เชลยศักดิ์", "เคหาสน์สีแดง" และ "ม่านไฟ" เป็นต้น
เคหาสน์สีแดง

เคหาสน์สีแดง

          นวนิยายเรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าพิมพ์ครั้งแรกเมื่อไหร่ ตามประวัติผู้เขียนพบว่าได้มีผลงานเขียนนวนิยายเรื่องแรกเมื่อปี พ.ศ. 2478 ขณะชันษาได้ 24 ปี คือเรื่อง "คำอธิษฐานของดวงดาว" หลังจากนั้นต่อมาจึงมีผลงานที่สร้างชื่ออย่างเรื่อง ผยอง เชลยศักดิ์ และ เคหาสน์สีแดง ในเวลาต่อมา
          นวนิยายเรื่อง "เคหาสน์สีแดง" เป็นเรื่องราวชีวิตความรักของ คุณหมอรุจ ทายาท "เคหาสน์สีแดง" และ อารยา บุตรสาวลูกติดแม่เลี้ยงที่คุณหมอรุจจงเกลียดจงชังตั้งแต่วัยเด็ก ความแค้นที่ถูกแย่งความรักทำให้เมื่อคุณหมอรุจ เดินทางกลับจากต่างประเทศ กลับมาที่บ้านตัวเองที่ "เคหาสน์สีแดง" และได้พบกับอารยา เรื่องราวความรักที่ถูกปิดบังเก็บไว้ในใจก็เริ่มต้นขึ้น
          ตัวละครพระเอกอย่างคุณหมอรุจในเรื่องนี้ เป็นตัวละครในนวนิยายไทยยุคเก่าที่ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมตะวันตก บุคลิกพระเอกจะเคร่งขรึม หยิ่งทะนงในศักดิ์ศรี เรียกว่าเป็นรูปแบบพระเอกยอดนิยมในนวนิยายยุคเก่า
เคหาสน์สีแดง

          ทราบมาว่านวนิยายไทยหลังจากนั้นคือเรื่อง "ปราสาทมืด" ของ ศรีฟ้า ลดาวัลย์ (ในนามปากกา จุลลดา ภักดีภูมินทร์) ก็ได้รับอิทธิพลจากนวนิยายเรื่อง "เคหาสน์สีแดง" เช่นกัน
          สำหรับนักอ่านรุ่นใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาเขียนของนวนิยายคลาสสิครุ่นเก่า ก็อาจจะไม่ชอบเพราะมีลักษณะบรรยายเชิงพรรณนาละเอียดมาก แต่สำหรับคนรุ่นเราที่เติบโตมากับนวนิยายไทยยุคเก่า ก็จะชอบการพรรณนาความรู้สึก อารมณ์ตัวละคร ตลอดจนฉากและสภาพแวดล้อมแบบนวนิยายยุคเก่ามากกว่า เพราะทำให้เข้าถึงเรื่องราวและผูกพันกับตัวละครผ่านยุคผ่านสมัยมายาวนานและยังคงจดจำได้เสมอ
          บันทึกไว้เมื่อ 9 กรกฎาคม 2565
Kapook Creator เป็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยผู้สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ หากพบเนื้อหาที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกติกา สามารถคลิกแจ้งปัญหาได้ที่นี่
เรื่องอื่นๆของ Books and My Quotes
Advertisements
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รีวิวเคหาสน์สีแดง นวนิยายสุดคลาสสิก จากความแค้นที่ก่อตัวมาจากการถูกแย่งความรัก อัปเดตล่าสุด 27 มีนาคม 2566 เวลา 13:39:57 1,106 อ่าน
TOP